fbpx

Physical Therapy กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดคืออะไร ?

 

 

         กายภาพบำบัดเป็นการรักษาทางการแพทย์อีกแขนงหนึ่ง

         ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลและการฟื้นฟูร่างกายโดยใช้

         เทคนิคและเครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อช่วยบำบัด

         และฟื้นฟูร่างกายที่เสื่อมสภาพหรือเจ็บป่วยโดยไม่ต้องใช้ยา

 

 

         การกายภาพบำบัดช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูเพื่อแก้ปัญหา

         เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและความบกพร่อง ของร่างกาย

         เช่น การฟื้นฟูระบบกล้ามเนื้อ ปรับการเคลื่อนไหว

         เพิ่มความยืดหยุ่น ลดการอักเสบ ของกล้ามเนื้อและ

         เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟู

         และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีกลับคืนมาอีกครั้ง

 

 

 

การบำบัดด้วยกายภาพครอบคลุมหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับปัญหาและสภาพของผู้ป่วยรวมถึงมีหลายแนวทางที่ สามารถนำมาใช้ร่วมกันในการรักษา ส่วนใหญ่การบำบัดด้วยกายภาพประกอบด้วยเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้กับการ ฟื้นฟูร่างกาย

 

กายภาพบำบัดคืออะไร ?

 

  กายภาพบำบัดเป็นการรักษาทางการแพทย์
อีกแขนงหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการดูแล
และการฟื้นฟูร่างกายโดยใช้เทคนิคและ
เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อช่วยบำบัด
และฟื้นฟูร่างกายที่เสื่อมสภาพหรือเจ็บป่วย


 การกายภาพบำบัดช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟู
ระบบของร่างกาย เช่น การฟื้นฟูระบบกล้ามเนื้อ
ปรับการเคลื่อนไหว เพิ่มความยืดหยุ่น
ลดการอักเสบ ของกล้ามเนื้อและเพิ่มความ
แข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟู
และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีกลับคืนมาอีกครั้ง


 การบำบัดด้วยกายภาพครอบคลุมหลากหลาย
ประเภทขึ้นอยู่กับปัญหาและสภาพของผู้ป่วย
รวมถึงมีหลายแนวทางที่สามารถนำมาใช้
ร่วมกันในการรักษาส่วนใหญ่การบำบัดด้วย
กายภาพบำบัดประกอบด้วยเทคนิคและ
เครื่องมือที่ใช้กับการฟื้นฟูร่างกาย

 

กายภาพบำบัดเหมาะสำหรับใครบ้าง?

  1. ผู้ที่มีอาการปวดและความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและกระดูก
    เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะโพก หัวไหล่ติด ยกเเขนไม่ขึ้น นิ้วล็อค เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีอาการบกพร่องทางกล้ามเนื้อและฟื้นฟูการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุ
    เช่น ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดข้อต่อ หรืออาการเจ็บและความผิดปกติจากการบาดเจ็บ เป็นต้น
  3. ผู้ที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
    เช่น ผู้ที่ไหล่ห่อ คอยื่น หลังค่อม หรือผู้สูงอายุที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  4. ผู้ที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว
    เช่น ผู้ที่มีปัญหาในการนั่ง การยืน การเดิน การนอน หรือการทำกิจวัตรประจำวันที่ผิดปกติ เป็นต้น
  5. ผู้ที่ต้องการการฟื้นฟูหลังการรักษาโรคหรือผ่าตัด
    เช่น ผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(stroke) ผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น
  6. ผู้ที่ต้องการป้องกันอันตรายและฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บ
    เช่น บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง เป็นต้น
  7. ผู้ที่ต้องการปรับสมดุลร่างกายและส่งเสริมสุขภาพทั่วไป การกายภาพบำบัดสามารถช่วยเพิ่มสมดุลร่างกาย
    และส่งเสริมสุขภาพทั่วไปได้อีกด้วย

กายภาพบำบัดเหมาะสำหรับใครบ้าง?

  1. ผู้ที่มีอาการปวดและความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและกระดูก
    เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะโพก หัวไหล่ติด ยกเเขนไม่ขึ้น นิ้วล็อค เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีอาการบกพร่องทางกล้ามเนื้อและฟื้นฟูการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุ
    เช่น ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดข้อต่อ หรืออาการเจ็บและความผิดปกติจากการบาดเจ็บ เป็นต้น
  3. ผู้ที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
    เช่น ผู้ที่ไหล่ห่อ คอยื่น หลังค่อม หรือผู้สูงอายุที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  4. ผู้ที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว
    เช่น ผู้ที่มีปัญหาในการนั่ง การยืน การเดิน การนอน หรือการทำกิจวัตรประจำวันที่ผิดปกติ เป็นต้น
  5. ผู้ที่ต้องการการฟื้นฟูหลังการรักษาโรคหรือผ่าตัด
    เช่น ผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(stroke) ผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น
  6. ผู้ที่ต้องการป้องกันอันตรายและฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บ
    เช่น บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง เป็นต้น
  7. ผู้ที่ต้องการปรับสมดุลร่างกายและส่งเสริมสุขภาพทั่วไป การกายภาพบำบัดสามารถช่วยเพิ่มสมดุลร่างกาย
    และส่งเสริมสุขภาพทั่วไปได้อีกด้วย

การรักษาทางกายภาพบำบัด

 

  • รักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)

    • TENS เป็นการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดระยะเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ หรือลดอาการปวดกลามเนื้อชั้นตื้น ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
    • IFC (Interferential Current) เป็นเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ใช้คลื่น interferential สามารถลดอาการปวด
ชั้นลึก และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

 

 

  • รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy)

เป็นคลื่นเสียงความถี่สูงสะสมจำนวนมาก เกิดเป็นความร้อนเข้าสู่ เนื้อเยื่อชั้นตื้นและลึก
การกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดฟังก์ชันช่วยคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้น
และชั้นลึกได้ สามารถลดากรอักเสบของกล้ามเนื้อ ลดปวด(Trigger point) กระตุ้นการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
เพิ่มการไหลเวียนเลือด และคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง

 

 

 

  • นวดรักษาโดยใช้เครื่อง HyperVolt (HyperVolt Massage)

นวดโดยนักกายภาพบำบัดผู้มีความเชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและเส้นประสาท ซึ่งการนวด
ด้วยเครื่อง HyperVolt จะช่วยคลายและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต่างๆ ได้เร็วและตรงจุด

 

 

 

  • ยืดเหยียด และเทรนกล้ามเนื้อ (Stretching and Muscle Training)
    โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

    • Stretching Exercise เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
    • Strengthening Exercise เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
    • Strengthening Exercise เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง

 

 

 

  • การขยับ ดัด ดึงข้อต่อด้วยมือ (Manual Technique)

เป็นการใช้แมนนวลเทคนิค เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

 

 

 

  • ประคบร้อน (Hot Pack)

ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง ที่ไม่มีการอักเสบ บวม แดง และร้อน

  • ประคบเย็น (Cold Pack)

ใช้ในกรณีที่มีการปวดอักเสบเฉียบพลัน มีอาการบวม แดง และร้อน

 

อาการที่เหมาะสำหรับทำกายภาพบำบัด

  1. ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดเข่า ปวดขา ปวดข้อเท้า
  2. มีอาการชา เช่น ชาลงแขน ชาปลายมือ ชาลงขา และชาปลายเท้า
  3. เดินที่ผิดปกต เช่น เดินตัวเอียง เดินลากเท้า ยกแขนขาได้ไม่สุด งอเหยียดเข่าไม่ได้ เป็นรองช้ำ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด นิ้วล็อค
  5. ได้รับบาดเจ็บจากการทำกิจกรรม เช่น บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา
  6. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองและผ่าตัดข้อเสื่อม เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเริ่มขยับตัวลำบากและเริ่มลุกนั่งไม่ได

อาการที่เหมาะ
สำหรับทำกายภาพบำบัด

  1. ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดเข่า ปวดขา ปวดข้อเท้า
  2. มีอาการชา เช่น ชาลงแขน ชาปลายมือ ชาลงขา และชาปลายเท้า
  3. เดินที่ผิดปกต เช่น เดินตัวเอียง เดินลากเท้า ยกแขนขาได้ไม่สุด งอเหยียดเข่าไม่ได้ เป็นรองช้ำ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด นิ้วล็อค
  5. ได้รับบาดเจ็บจากการทำกิจกรรม เช่น บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา
  6. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองและผ่าตัดข้อเสื่อม เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเริ่มขยับตัวลำบากและเริ่มลุกนั่งไม่ได

ประโยชน์ของการทำกายภาพบำบัด

  1. ลดความเจ็บปวด การทำกายภาพบำบัดช่วยลดความเจ็บปวดในพื้นที่ที่มีปัญหา และช่วยบรรเทาอาการไม่สบายต่าง ๆ ที่เกิดจากความรุนแรงของอาการ
  2. เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่น การทำกายภาพบำบัดช่วยเสริมกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้มีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นที่ดี
  3. ช่วยฟื้นฟูหลังผ่าตัด ในกระบวนการฟื้นคืนหลังการผ่าตัด จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
  4. เพิ่มคุณภาพชีวิต ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีปัญหาด้านร่างกาย ช่วยให้สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ง่ายขึ้นและมีความพร้อมในการเผชิญกับชีวิตอย่างเต็มที่

ประโยชน์ของการทำกายภาพบำบัด

  1. ลดความเจ็บปวด การทำกายภาพบำบัดช่วยลดความเจ็บปวดในพื้นที่ที่มีปัญหา และช่วยบรรเทาอาการไม่สบายต่าง ๆ ที่เกิดจากความรุนแรงของอาการ
  2. เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่น การทำกายภาพบำบัดช่วยเสริมกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้มีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นที่ดี
  3. ช่วยฟื้นฟูหลังผ่าตัด ในกระบวนการฟื้นคืนหลังการผ่าตัด จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
  4. เพิ่มคุณภาพชีวิต ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีปัญหาด้านร่างกาย ช่วยให้สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ง่ายขึ้นและมีความพร้อมในการเผชิญกับชีวิตอย่างเต็มที่

ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง
เพื่อความปลอดภัยในการทำกายภาพบำบัด

  1. ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก่อนเริ่มการทำกายภาพบำบัด เพื่อตรวจสภาพร่างกายและรับคำแนะนำเกี่ยวกับ การดูแลร่างกาย
  2. หากมีอาการปวดหรือความผิดปกติใด ๆ ควรหยุดทันทีและปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์
  3. ปฏิบัติการตามคำแนะนำการออกกำลังกายหรือคำแนะนำอื่นๆที่ได้รับ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักจนเกินไป
  4. ควบคุมการหายใจ การหายใจในระหว่างการทำกายภาพและการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ ควรปฏิบัติตามแนวทางที่ได้รับเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและป้องกันอันตราย
  5. ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง ความถี่อยู่กับอาการของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องของการบำบัดรักษา
  6. หลังจากทำกายภาพบำบัดหากมีอาการปวดระบมสามารถบรรเทาอาการได้โดยการประคบเย็นที่บริเวณที่เป็น หากมีอาการปวดมากสามารถทานยาลดปวดได้

   ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยในการทำกายภาพบำบัด

  1. ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก่อนเริ่มการทำกายภาพบำบัด เพื่อตรวจสภาพร่างกายและรับคำแนะนำเกี่ยวกับ การดูแลร่างกาย
  2. หากมีอาการปวดหรือความผิดปกติใด ๆ ควรหยุดทันทีและปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์
  3. ปฏิบัติการตามคำแนะนำการออกกำลังกายหรือคำแนะนำอื่นๆที่ได้รับ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักจนเกินไป
  4. ควบคุมการหายใจ การหายใจในระหว่างการทำกายภาพและการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ ควรปฏิบัติตามแนวทางที่ได้รับเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและป้องกันอันตราย
  5. ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง ความถี่อยู่กับอาการของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องของการบำบัดรักษา
  6. หลังจากทำกายภาพบำบัดหากมีอาการปวดระบมสามารถบรรเทาอาการได้โดยการประคบเย็นที่บริเวณที่เป็น หากมีอาการปวดมากสามารถทานยาลดปวดได้

 

 

โปรโมชั่นพิเศษ! สำหรับผู้ใช้บริการครั้งแรก เพียง 999 บาท (จากราคาปกติ 2,000 บาท)
โปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ลดปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ เบิกประกันสุขภาพ OPD ได้

 

เหมาะสำหรับคนที่พบกับปัญหาออฟฟิศซินโดรม ปวดคอและหลัง
และบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ

 

โปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ (Muscle Revival Program) 8 ขั้นตอน

    1. ประเมินและวิเคราะห์โดยนักกายภาพบำบัด
    2. บำบัดและฟื้นฟูโดยใช้เทคนิคทางกายภาพบำบัดด้วยมือ
      a. ปรับข้อต่อเพื่อการเคลื่อนไหวที่เต็มประสิทธิภาพ
      b. ช่วยลดความเจ็บปวดด้วยการกดจุดเจ็บ
    3. บำบัดรักษาด้วยอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด (2 บริเวณ)
      a. ปรับข้อต่อเพื่อการเคลื่อนไหวที่เต็มประสิทธิภาพ
    4. นวดรักษาโดยใช้เครื่อง Hypervolt
    5. ประคบร้อนหรือประคบเย็น
    6. ยืดและเหยียดกล้ามเนื้อ
    7. แนะนำการปรับท่าทางและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    8. โปรแกรมการออกกำลังกายที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับบุคคลและสภาพอาการของผู้ป่วย

 

 

โปรโมชั่นพิเศษ! สำหรับผู้ใช้บริการครั้งแรก เพียง 999 บาท (จากราคาปกติ 2,000 บาท) โปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ลดปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ เบิกประกันสุขภาพ OPD ได้

เหมาะสำหรับคนที่พบกับปัญหาออฟฟิศซินโดรม ปวดคอและหลัง
และบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ

 


โปรแกรมฟื้นฟู กล้ามเนื้อ (Muscle Revival Program) 8 ขั้นตอน

    1. ประเมินและวิเคราะห์โดยนักกายภาพบำบัด
    2. บำบัดและฟื้นฟูโดยใช้เทคนิคทางกายภาพบำบัดด้วยมือ
      a. ปรับข้อต่อเพื่อการเคลื่อนไหวที่เต็มประสิทธิภาพ
      b. ช่วยลดความเจ็บปวดด้วยการกดจุดเจ็บ
    3. บำบัดรักษาด้วยอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด (2 บริเวณ)
      a. ปรับข้อต่อเพื่อการเคลื่อนไหวที่เต็มประสิทธิภาพ
    4. นวดรักษาโดยใช้เครื่อง Hypervolt
    5. ประคบร้อนหรือประคบเย็น
    6. ยืดและเหยียดกล้ามเนื้อ
    7. แนะนำการปรับท่าทางและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    8. โปรแกรมการออกกำลังกายที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับบุคคลและสภาพอาการของผู้ป่วย

รีวิวจากผู้รับบริการ
Testimonials