fbpx

“กรดไหลย้อน” โรคยอดฮิตของคนยุคนี้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็สามารถเป็นได้โรคนี้​เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดการแสบหรือปวดร้อนกลางอก ในทางการแพทย์แผนจีนเชื่อว่าสาเหตุมาจากความเสียสมดุลของกระเพาะอาหาร ตับและม้าม สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของเรานั่นเอง เช่น

  • การทานอาหารที่อิ่มมากเกินไปหรือการปล่อยให้ ร่างกายหิวมากเกินไป
  • การทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา
  • การทานอาหารแล้วนอนเลยทันที
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลมมาก
  • ความเครียด

สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่ตอนนี้เข้าข่ายการเป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วหรือยัง ลองเช็คอาการของคุณดูว่าคุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ป้องกันและรักษาได้ ทันเวลาค่ะ

  • รู้สึกแสบร้อนกลางอก
    มักจะเกิดขึ้นหลังทางอาการเสร็จใหม่ ๆ
  • รู้สึกเปรี้ยวและขมในปากและลำคอ
    หรือมีอาการเรอเปรี้ยว
  • จุกเสียดแน่นหน้าอกบริเวณลิ้นปี่
  • ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้
  • หอบหืด ไอแห้ง เจ็บคอ

ถ้าคุณมีอาการเล่านี้อย่างน้อย 3 ข้อ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคุณมีอาการของโรคกรดไหลย้อนที่ต้องได้รับการดูแล เป็นพิเศษ

คำแนะนำในการป้องกัน และการบรรเทาโรคกรดไหลย้อน เบื้องต้นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเป็นอย่างแรกโดยการ

  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่อิ่มเกินไป
  • ทานอาหารให้ตรงเวลา
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารประเภท ชา กาแฟ อาหารรสจัด อาหารรสเปรี้ยว ของทอด อาหารที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่นอนทันทีที่ทานอาหารเสร็จ ควรจะรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • พักผ่อน ออกกำลังกาย ทำจิตใจให้แจ่มใสเพื่อลดความเครียด

ลมปราณคืออะไร?

พลังงาน/ลม ที่ขับเคลื่อนไหลเวียนภายในร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ หากมีการอุดกั้นติดขัดจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ไมเกรน นอนไม่หลับ และการทำงานอวัยวะอื่นๆแปรปรวน

ลมปราณหรือชี่ ทำหน้าที่อะไร?

    1. เป็นพลังงานที่อวัยวะต่างๆใช้ในการทำงาน
    2. ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
    3. เป็นพลังงานที่ปกคลุมทั่วร่างกาย เพื่อป้องกันพลังงานเสียเข้าสู่ร่างกาย เช่น ความชื้น ความร้อน ความเย็น
    4. ควมคุมการไหลเวียน ดูดซึม และขับออก ของสารสำคัญและของเหลวต่างๆภายในร่างกาย

ฟื้นฟู&ปรับสมดุลลมปราณช่วยอะไร

    1. แก้อาการปวดเรื้อรัง หรืออาการชา
    2. สร้างสมดุลการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่นระบบย่อย ระบบสืบพันธุ์ ฮอร์โมน ระบบทางเดินหายใจ
    3. ช่วยทำให้นอนหลับได้ดีและลึกขึ้น
    4. ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดลมสะดวก ขับของเสียจากร่างกายได้ดี

เชื่อว่าอาการปวดหัวไมเกรน ใครๆก็เคยประสบพบเจอ ไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชาย วัยเรียน วัยทำงานหรือวัยเกษียณก็สามารถ เป็นกันได้ทั้งนั้น โดยอาการของไมเกรนคือ ปวดหัวตุบๆ ข้างเดียว หรือลามไปปวดทั้ง 2 ข้าง สามารถย้ายตำแหน่งปวดได้ และอาจจะมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย ในบางรายอาจจะมีตาพร่ามัว และอาจจะปวดหัวได้นานเป็นวันเลยทีเดียว อาการปวดไมเกรน ในทางการแพทย์แผนจีนเชื่อว่าเกิดจากการติดขัดในเส้นลมปราณบริเวณศีรษะจากทฤษฎี “การติดขัดทำให้ปวด” นั้นเอง

อย่างไรก็ตามเราสามารถลดปัจจัยที่กระตุ้นอาการปวดหัวไมเกรนได้ง่ายๆ ด้วยการลดและเลี่ยง 6 สิ่งนี้ค่ะ

  1. ความเครียด ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงาน การเรียน หรือปัญหาในชีวิตประจำวัน ให้ลองหาเวลาละจากสิ่งนั้น และพักผ่อนสมองดูบ้างนะคะ
  2. การอดนอนและการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายอ่อนล้า และไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ดี ดังนั้นจึงควรนอนหลับให้สนิทและเพียงพอค่ะ
  3. การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราะคาเฟอีนส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางที่ ผู้เป็นไมเกรนไวต่อสิ่งนี้
  4. การทานอาหารที่มีส่วนผสมของยีสต์ ชีส หรือเนื้อสัตว์แปรรูป เพราะยีสต์ สารเคมีในชีสและสารกันบูดจะเข้ากระตุ้น ให้อาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้น
  5. การอยู่ในที่แสงจ้าและเสียงดัง เพราะแสงและเสียงเป็นตัวกระตุ้นอาการปวดหัวค่ะ
  6. การได้กลิ่นมากเกินไป ไม่ว่าจะกลิ่นดอกไม้ กลิ่นน้ำหอม หรือกลิ่นที่เคยรู้สึกหอมก็สามารถทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนได้เช่นกันนะคะ

ดังนั้นหากจะป้องกันไม่ให้เกิดอาหารปวดหัวไมเกรน การตัดวงจรของสิ่งที่จะมากระตุ้น ก็ถือเป็นแนวทางที่ดีเลยทีเดียวค่ะ

จะมีใครรู้บ้างว่าโรคภูมิแพ้อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว แต่นิสัยการกินในชีวิตประจำวันของเราก็มีส่วนทำให้ เกิดภูมิแพ้ได้เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่อาการแพ้มักจะเกิดจาก การรับประทานอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้ เช่น อาหารทะเล อาหารจำพวกนมและไข่ หรืออาหารจำพวกถั่ว แต่สำหรับบางคนอาการแพ้ ผด ผื่น คัน อาจเกิดจากนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้

  1. การรับประทานอาหารทอดที่มีสารปรุงแต่งและสารอนุมูลอิสระในอาหารทอดที่มีมากเกินไป จะขัดขวางการทำงาน ของระบบย่อยอาหารและทำให้เกิดอาการแพ้ตามร่างกาย
  2. รับประทานโดยไม่เลือก เช่น บุฟเฟต์ ปิ้งย่าง อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารเหล่านี้หากตกค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน จะกลายเป็นสารพิษ (toxin) เมื่อสารพิษเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายก็จะขับออกมาทางผิวหนังแทน ที่จะขับออกทางอุจจาระ ทำให้เกิดอาการคันจมูก หายใจลำบาก มีผด ผื่น และอาการคัน 
  3. การรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง หากรับประทานอาหารรสจัด มากเกินไป อาการแพ้ก็จะหนักกว่าเดิม
  4. การไม่รับประทานผักผลไม้ หากร่างกายไม่ได้รับวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในผักผลไม้ ก็จะส่งผลเสียต่อ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  5. การรับประทานอาหารที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดการแพ้ของเส้นประสาทบริเวณทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการ ท้องเสียและท้องอืด
  6. การพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร การพูดคุยจะเป็นการกระตุ้นประสาทและเพิ่มความเครียด ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาส ทำให้ภูมิแพ้กำเริบ

หากคุณยังมีนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้อยู่ประกอบกับมีอาการแพ้ ผด ผื่น คัน นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาลำไส้ใหญ่ต้นเหตุของโรคภูมิแพ้

การนอนหลับช่วง Deep Sleep และ REM เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองในระดับเซลล์ได้ดี และฟื้นฟูด้านสมอง ความจำ อารมณ์

ดังนั้น‼️ เราจึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ (7-8 ชม.ต่อวัน) และมีคุณภาพ (หลับลึก)

หลับไม่สนิท หลับยาก อย่าปล่อยไว้ ‼️ ควรวิเคราะห์สาเหตุ และรักษาให้ตรงจุด

โดยปกติแล้วในวัยผู้ใหญ่ ระยะเวลาในการนอนที่สมบูรณ์แบบที่สุดคือ 7-8 ชั่วโมง แต่ปัญหาที่มักจะพบบ่อยคือ การนอนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก

หลับไม่ดี ส่งผลมากมาย เช่น ทำให้ระบบคุ้มกันไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ความดันสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เสี่ยงต่อโรคอ้วน โรคเบาหวาน ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ รู้สึกเหนื่อยล้าร่างกาย ง่วงซึม นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจด้วย “การนอนหลับพักผ่อนของเราต้องเพียงพอและมีคุณภาพ” โดยจะต้องนอนให้ถึงช่วงวงจร Deep Sleep และ REM Sleep

Deep Sleep คือช่วงเวลาของการหลับลึก เป็นช่วงหลับสนิทที่สุดของการนอน โดยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงของการนอน ในช่วงนี้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ จะคลายตัวลง หัวใจจะเต้นช้าลง หายใจช้าลง ร่างกายจะผ่อนคลายเต็มที่ และ Growth Hormone ที่มีหน้าที่สำคัญในการซ่อมแซมร่างกายก็จะหลั่งในช่วงเวลานี้ด้วย

REM Sleep คือ ช่วงวงจรการนอนที่กล้ามเนื้อต่าง ๆ หยุดทำงานหมด ยกเว้นหัวใจ กระบังลม กล้ามเนื้อเรียบและ กล้ามเนื้อตา รวมถึงสมองที่ทำงานใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่น ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่เราเข้าสู้ห้วงแห่งความฝัน จะใช้เวลาตั้งแต่ 30-60 นาทีและจะเกิดขึ้นหลังจาก Deep sleep โดยปกติแล้วทุกคนจะต้องฝันแต่อาจจะจำความฝันไม่ได้ แต่ถ้าหากไม่ได้ฝันเลยหมายความว่าเราไม่ได้หลับยาวนานมากพอ REM Sleep เป็นอีกช่วงที่สำคัญมากของการนอน เพราะการนอนหลับในช่วงนี้จะช่วยเรื่องสมาธิ ความจำ การเรียนรู้ การสร้างจินตนาการ และอารมณ์

ความเครียด (Stress)

ความเครียดเป็นเรื่องระยะสั้น เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อความเครียดสะสมมากขึ้น หนทางแก้ปัญหายังมองไม่เห็น จึงเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ภาวะเครียด” จุดสังเกตภาวะเครียดหลัก ๆ คือ บอกได้ชัดเจนว่าเครียดเรื่องอะไร  แต่ยังคงทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ อาจมีอาการนอนหลับยาก หลับไม่สนิท รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิ แต่ เมื่อสาเหตุนั้นหายไป หรือปรับตัวได้ ก็จะกลับมาปกติ หากจัดการกับความเครียดที่มีไม่ได้ ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามความเครียดมาก ๆ สะสมนาน ๆ อาจพาไปสู่การเป็น โรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

ซึมเศร้า (Depression)

ซึมเศร้าเป็นเรื่องระยะยาว ไม่ใช่ทุกคนจะต้องเผชิญ  ซึมเศร้าเป็น “โรค” ที่ต้องได้รับการรักษา มีสาเหตุเกิดจากหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับเรื่องเลวร้ายที่สุดในชีวิต จนไม่สามารถทำใจได้ หรือเกิดเหตุการณ์สะเทือนจิตใจอย่างต่อเนื่องจน ทำให้สารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ  จุดสำคัญที่แตกต่างกันชัดเจน ระหว่าง “ความเครียด“ กับ “ซึมเศร้า” คือ โรคซึมเศร้านั้น จัดเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์  โดยบอกไม่ได้ว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เศร้า และอาการที่เกิดขึ้นกระทบกับการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันให้ผิดปกติไป อีกทั้งยังมีอาการของโรคหลัก ๆ คือ มีอารมณ์เศร้า เบื่อตัวเอง เบื่อคนรอบข้าง โลกไม่น่าอยู่  และรู้สึกไม่มีความสุขในสิ่งเคยทำแล้วมีความสุข

การรักษาในปัจจุบัน จะควบคุมภาวะซึมเศร้าด้วยยาอาจต้องใช้เวลาหลา
ยเดือนเพื่อดูผลการรักษา และปรับยาให้เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด ซึ่งตามมาด้วยผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่มีสารเคมีเป็นระยะเวลานาน

ภาวะซึมเศร้ากับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นหนึ่งในโรคที่แพทย์แผนจีนรักษาได้ผลค่อนข้างดี ที่สำคัญที่สุดคือผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยในระยะยาว

สาเหตุการเกิดโรคในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนเรามองว่า กลไกการเกิดโรคเกิดจากอารมณ์ทั้ง 7 ได้แก่ โกรธ ดีใจ ตกใจ ครุ่นคิด เศร้า กังวล กลัว ที่มากเกินไปจนทำให้เกิดการติดขัดของลมปราณ เลือด  เมื่อเลือดและลมปราณติดขัดไหลเวียนไม่ดีเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดเป็นความร้อน ความชื้น เสมหะสะสมที่คั่งค้างอยู่ภายในร่างกาย จนนำไปสู่ภาวะการเสียสมดุล แนวทางการรักษา จะต้องปรับการเคลื่อนไหวลมปราณและของเสียต่างๆที่คั่งค้าง ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น การรักษาตามศาสตร์ การแพทย์แผนจีน สามารถรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันได้ และจิตบำบัดสามารถป้องกันและรักษาโรคได้ด้วย สุดท้ายไม่ว่าจะเครียดหรือซึมเศร้าความใส่ใจรับฟัง และการให้กำลังใจที่เรามีให้แก่กันเป็นสิ่งสำคัญ

ปวดหลัง ปวดเอว เจ็บสะโพกร้าวลงขา ปวดส้นเท้า สัญญานเตือน! ลมปราณกระเพาะปัสสาวะไหลเวียนติดขัด

มีอาการปวดหลังจนถึงเอว เจ็บสะโพก อาการคล้ายกระดูกทับเส้น ถึงขั้นปวดร้าวลงขาด้านหลังตั้งแต่น่องไปจนถึงส้นเท้า อาการนี้ไม่ใช่แค่อาการเมื่อยเพราะนั่งนานๆเท่านั้น แต่อาจเกิดจากปัญหาระดับเส้นลมปราณก็เป็นได้

พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดน่อง ได้แก่ การทำงานหนัก การออกแรงยกของในอิริยาบถ ที่ผิดเป็นระยะเวลานานๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณเอวและสะโพกได้รับบาดเจ็บ การนั่งในท่าเดิมนานๆจนกดทับจุดสลักเพชร (กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก) การออกกำลังกายหนัก โดยไม่ได้ยืดเส้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว  การดื่มน้ำน้อย การกลั้นปัสสาวะเป็นประจำ  ภาวะความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ

ตามหลักศาสตร์การแพทย์แผนจีน อาการเหล่านี้เกิดจาก เส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะไหลเวียนสะดุดติดขัด หากปล่อยไว้นานวันเข้า โดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราหลากหลายด้าน นอกจากจะมีอาการ ปวดหลัง และสะโพก ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว  ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตใจ เช่น ตกใจง่าย หวาดระแวง ขาดสมาธิ กระวนกระวาย และอารณ์แปรปรวนไม่คงที่ ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีภาวะเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะติดขัดและมีอาการตามที่กล่าว แนะนำให้ปรับสมดุลเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะที่ติดขัดก่อนเพื่อรักษาอาการปวดด้วยวิธีการ  ดังนี้

  1. นอนหลับให้เพียงพอ ไม่ควรนอนเกิน 23.00 น.
  2. ทานอาหารมื้อเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญ โดยทานอาหารให้ตรงเวลาตั้งแต่ 7.00-9.00 น. เพราะช่วงเวลานี้ระบบย่อยอาหารจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
  3. งดการอั้นปัสสาวะ เมื่อปวดปัสสาวะให้รีบเข้าห้องน้ำ หรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอนในช่วงกลางคืนมากๆ
    หาเวลาว่างเพื่อพักผ่อนและออกไปเที่ยวผ่อนคลายบ้างเพื่อลดความเครียดและความกังวล
  4. ช่วงเวลา 15.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ควรดื่มน้ำให้มาก เพราะเป็นช่วงที่เส้นลมปราณกระเพาะ
  5. ปัสสาวะทำหน้าที่ จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายได้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายลดการดื่มน้ำเย็น น้ำอัดลมและนม

อาการเจ็บ ปวด เมื่อยร่างกาย เป็นอาการที่เกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ร่างกายในชีวิตประจำวันของเราที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ การจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับตัว หรือถ้ามีความจำเป็นที่จะต้อง ปฏิบัติกิจกรรมเดิม ๆ ใช้ร่างกายแบบเดิม ก็เป็นเรื่องยากที่ทำให้ความเจ็บปวดนั้นหายไป ต้องบอกเลยว่า “เจ็บนี้อีกนาน”ค่ะ

สำหรับใครที่คิดว่า “เจ็บจนพอแล้ว” ไม่อยากจะทนเจ็บอีกต่อไป คุณสามารถหยุดความเจ็บนั้นได้ด้วยการเปิดใจค่ะ อย่างแรกต้องขอบอกเลยว่า “ถ้าคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง วิธีการต้องแตกต่างด้วย”ค่ะ ที่แมริแคร์คลินิก เรานำเสนอเทคโนโลยีคลื่นไฟฟ้าความถี่ต่ำ น้ำมันหอมระเเหยเกรดบำบัด และศาสตร์แพทย์แผนจีนรวมเข้าด้วยกัน เพื่อปรับสมดุลร่างกาย จิตใจ อารมณ์ คลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวด ฟื้นฟูเซลล์ และกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง จุดเด่นก็คือการดูแลสุขภาพจากภายใน เป็นการเปิดโลกการนวดแบบใหม่มาก ความรู้สึกคือ กระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ไหลผ่านตัว มีอาการตรงไหน เจ็บแปล๊บขึ้นมาตรงนั้น แต่อย่างที่บอก “มันเป็นความเจ็บที่ทนได้” ค่ะ

คนที่อายุไม่เท่าไรแต่มีจุดแข็งที่คอ บ่า ไหล่ ถือว่าความเจ็บนี้เป็นความเจ็บที่คุ้มค่า “เจ็บแต่จบ” เจ็บเพื่อร่างกายได้รับ การรักษา เจ็บเพื่อที่จะไปต่อได้ นอกจากจะเจ็บแต่จบทางร่างกายแล้ว อารมณ์ก็ดีขึ้นได้ด้วย ใครที่สนใจในศาสต์จีน เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถึงจะเจ็บแต่ผลลัพธ์ดีแน่นอน เรื่องความสวยความงามที่นี่ก็มีบริการ ที่สำคัญได้รับคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญกลับบ้านไปดูแลสุขภาพอีกด้วยนะ

ภาวะกระทุ้งพิษ (Healing Reaction)

คือสภาวะที่ร่างกายฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวเองหลังจากได้รับการรักษาและฟื้นฟูอย่างล้ำลึก จนไปกระตุ้นเซลล์และระบบ การทำงานต่างๆ ภายในร่างกายให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง หรือ Self-Healing ทำให้สารพิษ ของเสีย และพลังงานลบที่ตกค้าง หรือสะสมอยู่ภายในร่างกายถูกขับออกมา ทำให้ร่างกายมีการแสดงอาการต่างๆ ที่เป็นสัญญาณของการขับสารพิษ เช่น อ่อนเพลีย ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้นตามตัว ท้องเสีย เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วสภาวะกระทุ้งพิษจะดีขึ้นภายใน 1 วัน – 1 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามอาการและระยะเวลาของสภาวะกระทุ้งพิษในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับสภาวะความสมดุลภายในร่างกายเดิมของบุคคลนั้นๆ
เมื่อภาวะกระทุ้งพิษสิ้นสุดลง จะช่วยทำให้ของเสียภายในร่างกายลดลง เลือดและลมปราณไหลเวียนสะดวกยิ่งขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายแข็งแรง ร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล อาการเจ็บป่วยต่างๆค่อยๆดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพโดยรวมเนื่องจากเป็นการขับสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายออกในระดับลึก

สภาวะกระทุ้งพิษมีอาการอย่างไรบ้าง?

อาการของสภาวะกระทุ้งพิษสามารถเกิดได้หลากหลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับสภาวะภายในร่างกายเดิมของบุคคลนั้นๆ เช่น
  • อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว กระหายน้ำบ่อย
  • มึนเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • เหงื่อออกมือเท้าเวลานอน
  • ท้องเสีย เรอหรือผายลมบ่อยขึ้น
  • มีไข้ต่ำๆ มีผื่นลมพิษ ผื่นคัน หรือสิว

สภาวะกระทุ้งพิษเกิดขึ้นได้นานแค่ไหน?

โดยทั่วไปแล้วสภาวะกระทุ้งพิษจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามระยะเวลาของสภาวะกระทุ้งพิษ ในแต่ละบุคคล จะแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกายเดิมของ บุคคลนั้นๆ นอกจากนี้ การกระทุ้งพิษ อาจเกินขึ้นได้
มากกว่า 1 ครั้ง

แนวทางการดูแลตัวเองจากสภาวะกระทุ้งพิษ

  1. งดออกกำลังกายในวันที่เข้ารับการรักษา
  2. ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับของเสียได้ดียิ่งขึ้น
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่
  4. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ครบ 3 มื้อ 
  5. ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง 
  6. หากมีไข้ หรือมีอาการต่างๆ เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียสามารถรับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการได้ 
  7. ใช้น้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด เพื่อเร่งการขับของเสียให้ร่างกายกลับเข้าสู่จุดสมดุลได้เร็วขึ้น
Stroke สโตรก อาการบ่งชี้
Stroke สโตรก อาการบ่งชี้

Stroke โรคที่ไม่ควรมองข้าม

อาการ

 เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก 
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

“FAST” หมายถึง:

  1. F (Face)     ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
  2. A (Arm)     แขนขาอ่อนแรง หรือชา อ่อนแรงครึ่งซีก เดินเซ
  3. S (Speech)  ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พูดลำบาก
  4. T (Time)     ควรมาโรงพยาบาลด้วยความรวดเร็ว ภายใน 4.5 ชั่วโมง

แนวทางการป้องกัน 

การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

  • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

วิธีการรักษา

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด รีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง

 

ข้อแนะนำ ข้อควรระวัง 

  • ควรรักษาความดันโลหิตให้คงที่ในเกณฑ์ปกติ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ลดการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้น้อยลง
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์ และระวังไม่ใช้ยาหรือสารที่อาจมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือด