fbpx

บทความสุขภาพ

บทความสุขภาพ

กรดไหลย้อน 

โรคยอดฮิตของคนยุคนี้

ไม่ว่าอายุเท่าไร ก็เป็นได้

 

กรดไหลย้อน(Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นอาการที่เกิดจากกรดหรือน้ำย่อย ไหลย้อนกลับเข้าไปที่หลอดอาหาร ส่วนมากเกิดหลังการรับประทานอาหาร โดยทั่วไปร่างกายจะมีกลไกการป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนหลับขึ้นไปตามหลอดอาหาร ด้วยการบีบตัวของกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร การบีบตัวของหลอดอาหาร และกลไกการป้องกันการทำลายจากกรดของเยื่อบุหลอดอาหาร 

ในสภาวะร่างกายปกติ กระเพาะจะบีบตัวย่อยอาหาร ถ้ามีกรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารจะหดตัวไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ แต่ในคนที่มีภาวะกรดไหลย้อน การทำงานของกระเพาะ หูรูดหลอดอาหาร หลอดอาหาร มีความผิดปกติ

 

โดยอาการหลักที่พบจะมี

  • รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางอก บางครั้งอาจรู้สึกถึงกลางคอได้ ส่วนมากมีอาการหลังทานอาหาร
  • เรอเปรี้ยว ความรู้สึกมีน้ำขมๆเปรี้ยวๆไหลย้อนจากคอมาในช่องปาก 
  • เรอ จุก เสียด แน่น บริเวณลิ้นปี่ ความรู้สึกคล้ายอาหารไม่ย่อย 

อาการอื่นๆ เช่น เจ็บหน้าอกคล้ายโรคหัวใจ หอบหืด ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง มีกลิ่นปาก

 

สาเหตุ

  • ความผิดปกติที่หูรูดหลอดอาหาร : มีความดันหูรูดต่ำ หูรูดเปิดบ่อยกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของหลอดอาหาร : อาหารเคลื่อนตัวช้า อาหารค้างที่หลอดอาหารเป็นเวลานาน
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร
  • พฤติกรรมอื่นๆ : ทานอาหารดึก ทานอาหารแล้วนอนทันที มีความเครียด ดื่มน้ำอัดลม แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ 
  • โรคอ้วน
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม

 

การรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน

  • ทานยาตามพทย์สั่ง 
  • การผ่าตัด การตัดเย็บหูรูด

 

วิเคราะห์และรักษาตามมุมมองแพทย์แผนจีน

     ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน อวัยวะที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการกรดไหลย้อนคือ กระเพาะอาหาร ตับ ม้าม สาเหตุของโรคมาจากอาหารรสจัด ของทอด ของมัน อาหารฤทธิ์เย็น อารมณ์และความเครียด สภาวะร่างกายอ่อนแอ โดยจะวิเคราะห์จากรายละเอียดอาการที่คนไข้เป็น โดยแบ่งกลุ่มอาการเป็น 2 ข้อ 

1)ไฟตับลุกโชน เน้นการรักษา ขจัดไฟตับ ป้องกันการทำร้ายกระเพาะอาหาร

2)ม้ามและกระเพาะอาหารเย็นพร่อง เน้นการรักษา อุ่นบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร ปรับสมดุลอวัยวะส่วนกลาง เพื่อขจัดความเย็นและความชื้น

 

การรักษา

การฝังเข็ม ในผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน จะเน้นปรับสมดุลการทำงานของกระเพาะอาหาร ลดปริมาณการหลั่งน้ำย่อย ลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด ปรับสมดุลความร้อน ความเย็น และปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ในผู้ที่มีความร้อนสูง แนะนำให้มีการครอบแก้วเพื่อระบายร้อน และผ่อนคลายการตึงเกร็งจากความเครียด

 

ข้อแนะนำการดูแลตัวเอง

  • เลี่ยงอาการที่กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ เช่น อาหารรสจัด หัวหอม กระเทียม ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สับปะรด ส้ม มะเขือเทศ รวมถึง ผักสด ฟาสท์ฟูด ถั่ว ของทอด ของมัน เนย นม ช้อคโกแลต เครื่องดื่มอัดแก๊ส น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ 
  • แบ่งการทานอาหารเป็นมื้อเล็ก แต่บ่อยครั้ง แทนการทานอาหารมื้อใหญ่
  • เลี่ยงการนอนราบทันทีหลังการทานอาหาร และ งดทานอาหารก่อนเวลานอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง 
  • เลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส 
  • ควบคุมน้ำหนักใม่ให้สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

กรดไหลย้อน 

โรคยอดฮิตของคนยุคนี้

ไม่ว่าอายุเท่าไร ก็เป็นได้

 

กรดไหลย้อน(Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นอาการที่เกิดจากกรดหรือน้ำย่อย ไหลย้อนกลับเข้าไปที่หลอดอาหาร ส่วนมากเกิดหลังการรับประทานอาหาร โดยทั่วไปร่างกายจะมีกลไกการป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนหลับขึ้นไปตามหลอดอาหาร ด้วยการบีบตัวของกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร การบีบตัวของหลอดอาหาร และกลไกการป้องกันการทำลายจากกรดของเยื่อบุหลอดอาหาร 

ในสภาวะร่างกายปกติ กระเพาะจะบีบตัวย่อยอาหาร ถ้ามีกรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารจะหดตัวไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ แต่ในคนที่มีภาวะกรดไหลย้อน การทำงานของกระเพาะ หูรูดหลอดอาหาร หลอดอาหาร มีความผิดปกติ

 

โดยอาการหลักที่พบจะมี

  • รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางอก บางครั้งอาจรู้สึกถึงกลางคอได้ ส่วนมากมีอาการหลังทานอาหาร
  • เรอเปรี้ยว ความรู้สึกมีน้ำขมๆเปรี้ยวๆไหลย้อนจากคอมาในช่องปาก 
  • เรอ จุก เสียด แน่น บริเวณลิ้นปี่ ความรู้สึกคล้ายอาหารไม่ย่อย 

อาการอื่นๆ เช่น เจ็บหน้าอกคล้ายโรคหัวใจ หอบหืด ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง มีกลิ่นปาก

 

สาเหตุ

  • ความผิดปกติที่หูรูดหลอดอาหาร : มีความดันหูรูดต่ำ หูรูดเปิดบ่อยกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของหลอดอาหาร : อาหารเคลื่อนตัวช้า อาหารค้างที่หลอดอาหารเป็นเวลานาน
  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร
  • พฤติกรรมอื่นๆ : ทานอาหารดึก ทานอาหารแล้วนอนทันที มีความเครียด ดื่มน้ำอัดลม แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ 
  • โรคอ้วน
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม

 

การรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน

  • ทานยาตามพทย์สั่ง 
  • การผ่าตัด การตัดเย็บหูรูด

 

วิเคราะห์และรักษาตามมุมมองแพทย์แผนจีน

     ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน อวัยวะที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการกรดไหลย้อนคือ กระเพาะอาหาร ตับ ม้าม สาเหตุของโรคมาจากอาหารรสจัด ของทอด ของมัน อาหารฤทธิ์เย็น อารมณ์และความเครียด สภาวะร่างกายอ่อนแอ โดยจะวิเคราะห์จากรายละเอียดอาการที่คนไข้เป็น โดยแบ่งกลุ่มอาการเป็น 2 ข้อ 

1)ไฟตับลุกโชน เน้นการรักษา ขจัดไฟตับ ป้องกันการทำร้ายกระเพาะอาหาร

2)ม้ามและกระเพาะอาหารเย็นพร่อง เน้นการรักษา อุ่นบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร ปรับสมดุลอวัยวะส่วนกลาง เพื่อขจัดความเย็นและความชื้น

 

การรักษา

การฝังเข็ม ในผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน จะเน้นปรับสมดุลการทำงานของกระเพาะอาหาร ลดปริมาณการหลั่งน้ำย่อย ลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด ปรับสมดุลความร้อน ความเย็น และปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ในผู้ที่มีความร้อนสูง แนะนำให้มีการครอบแก้วเพื่อระบายร้อน และผ่อนคลายการตึงเกร็งจากความเครียด

 

ข้อแนะนำการดูแลตัวเอง

  • เลี่ยงอาการที่กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ เช่น อาหารรสจัด หัวหอม กระเทียม ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สับปะรด ส้ม มะเขือเทศ รวมถึง ผักสด ฟาสท์ฟูด ถั่ว ของทอด ของมัน เนย นม ช้อคโกแลต เครื่องดื่มอัดแก๊ส น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ 
  • แบ่งการทานอาหารเป็นมื้อเล็ก แต่บ่อยครั้ง แทนการทานอาหารมื้อใหญ่
  • เลี่ยงการนอนราบทันทีหลังการทานอาหาร และ งดทานอาหารก่อนเวลานอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง 
  • เลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส 
  • ควบคุมน้ำหนักใม่ให้สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
ปรึกษาอาการ