fbpx

บทความสุขภาพ

บทความสุขภาพ

Stress and Depression
Stress and Depression

6 เครียด VS ซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร?

 

ความเครียด (Stress)
ความเครียดเป็นเรื่องระยะสั้น เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อความเครียดสะสมมากขึ้น หนทางแก้ปัญหายังมองไม่เห็น จึงเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ภาวะเครียด” จุดสังเกตภาวะเครียดหลัก ๆ คือ บอกได้ชัดเจนว่าเครียดเรื่องอะไร  แต่ยังคงทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ อาจมีอาการนอนหลับยาก หลับไม่สนิท รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิ แต่ เมื่อสาเหตุนั้นหายไป หรือปรับตัวได้ ก็จะกลับมาปกติ หากจัดการกับความเครียดที่มีไม่ได้ ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามความเครียดมาก ๆ สะสมนาน ๆ อาจพาไปสู่การเป็น โรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
ซึมเศร้า (Depression)
ซึมเศร้าเป็นเรื่องระยะยาว ไม่ใช่ทุกคนจะต้องเผชิญ  ซึมเศร้าเป็น “โรค” ที่ต้องได้รับการรักษา มีสาเหตุเกิดจากหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับเรื่องเลวร้ายที่สุดในชีวิต จนไม่สามารถทำใจได้ หรือเกิดเหตุการณ์สะเทือนจิตใจอย่างต่อเนื่องจน ทำให้สารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ  จุดสำคัญที่แตกต่างกันชัดเจน ระหว่าง “ความเครียด“ กับ “ซึมเศร้า” คือ โรคซึมเศร้านั้น จัดเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์  โดยบอกไม่ได้ว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เศร้า และอาการที่เกิดขึ้นกระทบกับการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันให้ผิดปกติไป อีกทั้งยังมีอาการของโรคหลัก ๆ คือ มีอารมณ์เศร้า เบื่อตัวเอง เบื่อคนรอบข้าง โลกไม่น่าอยู่  และรู้สึกไม่มีความสุขในสิ่งเคยทำแล้วมีความสุขการรักษาในปัจจุบัน จะควบคุมภาวะซึมเศร้าด้วยยาอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อดูผลการรักษา และปรับยาให้เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด ซึ่งตามมาด้วยผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่มีสารเคมีเป็นระยะเวลานาน

 

ภาวะซึมเศร้ากับศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นหนึ่งในโรคที่แพทย์แผนจีนรักษาได้ผลค่อนข้างดี ที่สำคัญที่สุดคือผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยในระยะยาว

 

สาเหตุการเกิดโรคในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีน
แพทย์แผนจีนเรามองว่า กลไกการเกิดโรคเกิดจากอารมณ์ทั้ง 7 ได้แก่ โกรธ ดีใจ ตกใจ ครุ่นคิด เศร้า กังวล กลัว ที่มากเกินไปจนทำให้เกิดการติดขัดของลมปราณ เลือด  เมื่อเลือดและลมปราณติดขัดไหลเวียนไม่ดีเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดเป็นความร้อน ความชื้น เสมหะสะสมที่คั่งค้างอยู่ภายในร่างกาย จนนำไปสู่ภาวะการเสียสมดุล

 

การรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
แนวทางการรักษา จะต้องปรับการเคลื่อนไหวลมปราณและของเสียต่างๆที่คั่งค้าง ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น
การรักษาตามศาสตร์ การแพทย์แผนจีน สามารถรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันได้ และจิตบำบัดสามารถป้องกันและรักษาโรคได้ด้วย สุดท้ายไม่ว่าจะเครียดหรือซึมเศร้าความใส่ใจรับฟัง และการให้กำลังใจที่เรามีให้แก่กันเป็นสิ่งสำคัญ

6 เครียด VS ซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร?

 

ความเครียด (Stress)
ความเครียดเป็นเรื่องระยะสั้น เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อความเครียดสะสมมากขึ้น หนทางแก้ปัญหายังมองไม่เห็น จึงเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ภาวะเครียด” จุดสังเกตภาวะเครียดหลัก ๆ คือ บอกได้ชัดเจนว่าเครียดเรื่องอะไร  แต่ยังคงทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ อาจมีอาการนอนหลับยาก หลับไม่สนิท รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิ แต่ เมื่อสาเหตุนั้นหายไป หรือปรับตัวได้ ก็จะกลับมาปกติ หากจัดการกับความเครียดที่มีไม่ได้ ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามความเครียดมาก ๆ สะสมนาน ๆ อาจพาไปสู่การเป็น โรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
ซึมเศร้า (Depression)
ซึมเศร้าเป็นเรื่องระยะยาว ไม่ใช่ทุกคนจะต้องเผชิญ  ซึมเศร้าเป็น “โรค” ที่ต้องได้รับการรักษา มีสาเหตุเกิดจากหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับเรื่องเลวร้ายที่สุดในชีวิต จนไม่สามารถทำใจได้ หรือเกิดเหตุการณ์สะเทือนจิตใจอย่างต่อเนื่องจน ทำให้สารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ  จุดสำคัญที่แตกต่างกันชัดเจน ระหว่าง “ความเครียด“ กับ “ซึมเศร้า” คือ โรคซึมเศร้านั้น จัดเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์  โดยบอกไม่ได้ว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เศร้า และอาการที่เกิดขึ้นกระทบกับการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันให้ผิดปกติไป อีกทั้งยังมีอาการของโรคหลัก ๆ คือ มีอารมณ์เศร้า เบื่อตัวเอง เบื่อคนรอบข้าง โลกไม่น่าอยู่  และรู้สึกไม่มีความสุขในสิ่งเคยทำแล้วมีความสุขการรักษาในปัจจุบัน จะควบคุมภาวะซึมเศร้าด้วยยาอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อดูผลการรักษา และปรับยาให้เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด ซึ่งตามมาด้วยผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่มีสารเคมีเป็นระยะเวลานาน

 

ภาวะซึมเศร้ากับศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นหนึ่งในโรคที่แพทย์แผนจีนรักษาได้ผลค่อนข้างดี ที่สำคัญที่สุดคือผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยในระยะยาว

 

สาเหตุการเกิดโรคในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีน
แพทย์แผนจีนเรามองว่า กลไกการเกิดโรคเกิดจากอารมณ์ทั้ง 7 ได้แก่ โกรธ ดีใจ ตกใจ ครุ่นคิด เศร้า กังวล กลัว ที่มากเกินไปจนทำให้เกิดการติดขัดของลมปราณ เลือด  เมื่อเลือดและลมปราณติดขัดไหลเวียนไม่ดีเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดเป็นความร้อน ความชื้น เสมหะสะสมที่คั่งค้างอยู่ภายในร่างกาย จนนำไปสู่ภาวะการเสียสมดุล

 

การรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
แนวทางการรักษา จะต้องปรับการเคลื่อนไหวลมปราณและของเสียต่างๆที่คั่งค้าง ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น
การรักษาตามศาสตร์ การแพทย์แผนจีน สามารถรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันได้ และจิตบำบัดสามารถป้องกันและรักษาโรคได้ด้วย สุดท้ายไม่ว่าจะเครียดหรือซึมเศร้าความใส่ใจรับฟัง และการให้กำลังใจที่เรามีให้แก่กันเป็นสิ่งสำคัญ
ปรึกษาอาการ