fbpx

บทความสุขภาพ

บทความสุขภาพ

สโตรก โรคที่ไม่ควรมองข้าม
สโตรก โรคที่ไม่ควรมองข้าม

Stroke โรคที่ไม่ควรมองข้าม

 

อาการ

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก 
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

 

 

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

 

“FAST” หมายถึง:

  1. F (Face)     ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
  2. A (Arm)     แขนขาอ่อนแรง หรือชา อ่อนแรงครึ่งซีก เดินเซ
  3. S (Speech)  ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พูดลำบาก
  4. T (Time)     ควรมาโรงพยาบาลด้วยความรวดเร็ว ภายใน 4.5 ชั่วโมง

 

แนวทางการป้องกัน 

 

การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

 

    • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
    • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
    • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

วิธีการรักษา

 

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด รีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง

 

 

ข้อแนะนำ ข้อควรระวัง 

 

  • ควรรักษาความดันโลหิตให้คงที่ในเกณฑ์ปกติ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ลดการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้น้อยลง
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์ และระวังไม่ใช้ยาหรือสารที่อาจมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือด

การรักษา stroke ด้วยถุงมือคลื่นไฟฟ้า

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยถุงมือคลื่นไฟฟ้าจะไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมักจะมีอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงครึ่งซีก และจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีมากขึ้น และยังสามารถช่วยฟื้นฟูประสาทส่วนปลายเพื่อลดอาการชา ลดบวมโดยกระตุ้นกล้ามเนื้อชั้นลึกให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อให้บีบตัวเป็นจังหวะเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ช่วยให้อาการบวมลดลงได้ดี ดังนั้นการรักษาด้วยถุงมือคลื่นไฟฟ้าเป็นการฟื้นฟูร่างกายโดยภาพรวม ส่งผลให้กล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรงมีความแข็งมากยิ่งขึ้น 

Stroke โรคที่ไม่ควรมองข้าม

 

อาการ

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก 
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

 

 

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

 

“FAST” หมายถึง:

  1. F (Face)     ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
  2. A (Arm)     แขนขาอ่อนแรง หรือชา อ่อนแรงครึ่งซีก เดินเซ
  3. S (Speech)  ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พูดลำบาก
  4. T (Time)     ควรมาโรงพยาบาลด้วยความรวดเร็ว ภายใน 4.5 ชั่วโมง

 

แนวทางการป้องกัน 

 

การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

 

    • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
    • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
    • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

วิธีการรักษา

 

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด รีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง

 

 

ข้อแนะนำ ข้อควรระวัง 

 

  • ควรรักษาความดันโลหิตให้คงที่ในเกณฑ์ปกติ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ลดการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้น้อยลง
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์ และระวังไม่ใช้ยาหรือสารที่อาจมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือด

การรักษา stroke ด้วยถุงมือคลื่นไฟฟ้า

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยถุงมือคลื่นไฟฟ้าจะไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมักจะมีอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงครึ่งซีก และจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีมากขึ้น และยังสามารถช่วยฟื้นฟูประสาทส่วนปลายเพื่อลดอาการชา ลดบวมโดยกระตุ้นกล้ามเนื้อชั้นลึกให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อให้บีบตัวเป็นจังหวะเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ช่วยให้อาการบวมลดลงได้ดี ดังนั้นการรักษาด้วยถุงมือคลื่นไฟฟ้าเป็นการฟื้นฟูร่างกายโดยภาพรวม ส่งผลให้กล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรงมีความแข็งมากยิ่งขึ้น 

ปรึกษาอาการ